Follow Us

Story We Share

STORY BY Sasha (Master)

พุทธศาสตร์-วิทยาศาสตร์ เหมือน-ต่าง ตรงไหน? (1)

Print January 09, 20142,450 views , 0 comments

พุทธศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ เหมือน หรือ ต่างกันตรงไหน? (ตอนที่ 1)


หัวข้อในวันนี้ต้องบอกเลยว่าเป็นสิ่งที่เมื่อสมัยยังเด็ก นึกสงสัยมาตลอด เพราะเคยได้ยินคนเขาพูดกันว่าพระพุทธศาสนาไม่เหมือนกับศาสนาอื่นๆ ในโลกที่เน้นไปที่ความเชื่อ แต่พุทธศาสนาเน้นให้คนมาพิสูจน์ด้วยตัวเอง โดย “พุทธะ” แปลว่า “ผู้รู้” ซึ่งผุ้รู้ในที่นี้หมายถึงผู้รู้แจ้งเห็นแจ้ง แทงตลอดในสัจธรรมทั้งปวง” รู้ด้วยตนเอง ไม่ได้เชื่อ หรือ ฟังมา ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้พระพุทธศาสนาแตกต่างจากทุกศาสนาในโลก เพราะในศาสนาอื่นจะสอนให้เชื่อตาม พระศาสดา เป็นหลัก บ้างก็ให้เชื่อโดยไม่ต้องมีความสงสัย หรือ คำถาม ทั้งสิ้น แต่พุทธศาสนากลับบอกว่า “อย่าเชื่อ”  เรามาดูกันค่ะว่าพระพุทธองค์ท่านได้บอกให้เราไม่เชื่ออย่างไรบ้าง
 
พระองค์ได้สอนเอาไว้ใน “กาลามสูตร 10” หมายถึง วิธีปฎิบัติตนในเรื่องของความเชื่อ ว่าการที่เราละเชื่ออะไรสักอย่างนั้น เราจะมีหลักการ หรือ ข้อควรระวังอย่างไรไม่ให้หลงเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แล้วเราจะมีเกณฑ์ในการจะเชื่ออะไรสักอย่างได้อย่างไร โดยหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตรมีรายละเอียดดังนี้

1.) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา : อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท \"เขาว่า\" \"ได้ยินมาว่า\" ทั้งหลาย เพราะเป็นการเชื่อลอยๆ อาจไม่ถูกต้อง

2.) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา: อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมาประเภท  \"โบราณว่า\" เพราะโบราณว่าอาจจะไม่ถูกต้อง
 
3.) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ: อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย นี่ยิ่งไม่ควรรีบไปปักใจเชื่อ
 
4.) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ : อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก เพราะตำราเขียนโดยมนุษย์ มีความผิดพลาดได้ แม้ว่าคนเขียนจะน่าเชื่อ แต่ทุกคนก็มีโอกาสพลาด หรือ มีความคิดของตนเอง ปรับ แก้ ใส่ความคิดของตนจนทำให้ผิดเพี้ยนก็มี
 
5.) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก : อย่าได้ยึดถือโดยเห็นว่า สมเหตุสมผล หรือ ดูแล้วเป็นเหตุเป็นผลกันดี
 
6.) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน : อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ หรือ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจไม่ถูกต้อง เพราะการอนุมานคือ การเอาข้อมูลบางส่วนมาสรุปทั้งหมด ซึ่งอาจมีความผิดพลาด
 
7.) อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล : อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ เหมาเอาตามประสบการณ์ที่เคยประสบมา ซึ่งอาจจะไม่ถูกสำหรับอีกกรณีหนึ่งก็ได้
 
8.) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว : อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า สิ่งนั้น ตรงกับความคิดเห็นของเรา รู้สึกถูกใจ เลยปักใจเชื่อ แบบนี้ก็ไม่ถูกค่ะ
 
9.) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ : อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ เพราะบางคนหน้าตาท่าทางดูดี ยังเป็นพวก 18 มงกุฎได้เลย
 
10.) อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา : อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา ดูสิคะแม้ข้อสุดท้ายท่านยังบอกว่าไม่ให้เชื่อท่านด้วย เพราะท่านเป็นบรมครูของเราใช่ไหมคะ เราน่าจะเชื่อได้ ท่านก็ยังว่าอย่างเพิ่งปลงใจเชื่อ เพียงเพราะท่านตรัสเอาไว้ แต่ให้ลงมือทำ และพิสูจน์ด้วยตนเอง ได้ผลดีจริงแล้วจึงเชื่อได้ อย่างนี้ไงคะ
 
เป็นอย่างไรบ้างคะ จะเห็นว่าแค่สอนไม่ให้เชื่อแค่นี้ ก็ครอบคลุม หมดทุกประเด็นแล้วว่า ให้เราระวังการเชื่ออะไรโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ นี่เองค่ะที่ทำให้พระพุทธศาสนามีความแตกต่างจากศาสนาทั่วไป และ มีความเหมือนกับวิทยาศาสตร์ ที่ในอดีต เมื่อเห็นฟ้าร้องฟ้าผ่า ฝนตก แดดออก บรรพบุรุษก็กล่าวว่า มีเทพเจ้าเป็นผู้ควบคุม และถึงกับตั้งชื่อ พร้อม เคารพ กราบไหว้ ถ้านักวิทยาศาสตร์เชื่อตามนั้นกันหมด ก็คงไม่มีใครลงมือพิสูจน์ว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้น แท้จริงแล้วเกิดขึ้นโดยอะไร มีกลไกอย่างไรกันแน่ แต่เพราะไม่เชื่อ จึงได้พยายามค้นหาคำตอบ ต่อเมื่อพิสูจน์แล้วจึงจะเชื่อค่ะ
 
เรื่องพระพุทธศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ยังไม่จบเพียงเท่านี้นะคะ วันนี้เราพูดเรื่องไม่ควรเชื่ออย่างไรกันก่อน แล้วเรามาต่อกันในตอนหน้าว่า จริงๆแล้ว ความเหมือน และความต่าง ระหว่างพุทธศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง สำหรับตอนนี้ขอให้ทุกท่านภูมิใจที่เรามีพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาแห่งเหตุและผล เป็นแสงสว่างของชีวิต และให้เราได้สนใจศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันยิ่งขึ้น แต่อย่าลืมนะคะ “อย่าเพิ่งเชื่อ” จนกว่าคุณจะได้นำคำสอนเหล่านั้นมาพิสูจน์ด้วยตัวของคุณเองค่ะ 


credit photo from: http://smotri.com/video/view/?id=v1499145f504
Tag : พุทธศาสนา วิทยาศาสตร์ science buddhism พุทธ วิทย์

Comments to this story

Write a comment


1.  views readmore
ALL Most Viewed
ALL TOP Rated
1.  comments readmore
ALL Most Comment